Pages

Wednesday, September 25, 2013

รับจ้างเขียนบทความ เป็นอาชีพได้จริงหรือ?



ปัจจุบัน ยุคอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างไปอย่างสิ้นเชิง ทำให้เกิดทั้งวิกฤตและโอกาสขึ้นมากมาย อาชีพเก่าล้าสมัยก็ค่อยๆถูกกลืนลงไป เช่นเดียวกันก็ได้เกิดอาชีพใหม่ๆ หนึ่งในนั้นก็คือ การรับจ้างเขียนบทความ

การเขียนบทความนั้นมีหลายประเภท เช่น บทความทางวิชาการ บทความเชิงให้ความรู้ แต่ในที่นี้เราจะพูดถึงการรับจ้างเขียนบทความสำหรับเว็บไซต์ ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นสูงมากในเวลานี้

ในมุมมองของเจ้าของเว็บไซต์(อาจเป็นลูกค้าหรือตัวเราเอง)นั้น การมีบทความในเว็บไซต์เพิ่มขึ้นนั้นมีจุดมุ่งหมายหลายประการ อาทิ
  • เป็นการแนะนำสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า
  • เป็นข้อมูลทางเลือกให้กับลูกค้า
  • เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจกับลูกค้า
  • เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์
  • อื่นๆอีกมากมาย...

สิ่งที่จำเป็นก่อนเริ่มอาชีพการเขียนบทความ

ศึกษาเรื่องที่จะเขียนให้เข้าใจในระดับนึง หากมีประสบการณ์ตรงได้จะดีมาก แต่หากไม่มีก็อาศัยอ่านหนังสือหรือเว็บไซต์อื่นๆ พูดคุยกับผู้มีความรู้ 

SEO เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเข้าใจหากคุณต้องการเขียนบทความ เพราะจะทำให้เว็บไซต์ดึงดูดลูกค้าได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น เช่น การแทรก keyword ที่เกี่ยวข้องลงไปในบทความ เพื่อให้ Google นำบทความเราไปจัดอันดับใน keyword ที่เราแทรกลงไปได้

การเขียนบทความในลักษณะ rewriting คือการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆแล้วนำมาเขียนใหม่ในสำนวนของเราเอง ใช้ได้ดีหากเรานำเสนอเฉพาะส่วนที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายถ้าจะให้ดีควรเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆเข้าไปด้วย การรีไรท์ไม่ใช่การก็อปปี้บทความหรือ spinning บทความที่ใช้กระบวนการแทนที่คำศัพท์คำต่อคำ

อัตราการรับจ้างเขียนบทความ

อัตราค่าบริการจะอยู่ที่ 50-150 บาทต่อ 500 คำ(ภาษาไทย) ทั้งนี้ขึ้นกับความพอใจเป็นหลัก ระยะเวลาส่งมอบงาน คุณภาพบทความ ความน่าเชื่อถือ เป็นปัจจัยด้านคุณภาพทั้งสิ้น หากคิดราคาสูงแต่ได้งานคุณภาพดีก็แฮปปี้กันทั้งสองฝ่าย

หรือสามารถที่จะเข้าร่วมกับเว็บไซต์รับจ้างต่างๆ(ภาษาอังกฤษ) เช่น elance.com odesk.com ซึ่งเว็บเหล่านี้จะมีลูกค้าอยู่มากมาย เราสามารถที่จะเริ่มรับงานและสร้างคอนเน็คชั่นกับลูกค้าได้จากเว็บเหล่านี้

ขอเสริมว่าหากต้องการบทความที่โดนใจคนอ่าน ก็ต้องเขียนบทความลักษณะที่มองในมุมของคนอ่านเป็นหลัก บทความที่เป็น unique+keyword ก็น่าจะเพียงพอสำหรับติด Google เพียงแต่ในระยะยาวคนอ่านจะไม่สามารถจำเว็บไซต์เราได้เลยหากพวกเค้าเจอแต่บทความที่ดูน่าเบื่อหรือไม่มีเอกลักษณ์

คุณสามารถเริ่มต้นการเขียนบทความจากการทำเป็นพาร์ทไทม์ได้ และถ้าหากมีความเชี่ยวชาญและฐานลูกค้าจำนวนหนึ่งแล้ว มันก็จะกลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ของคุณ

Thursday, September 5, 2013

เทียนหอมอโรม่า สินค้าทำเงินที่น่าจับตา













รูป ลักษณ์ของเทียนมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ แต่เดิมที่เป็นแท่งทรงกลมยาว ได้ถูกออกแบบให้มีรูปแบบหลากหลายขึ้น เริ่มจากการแกะสลักเทียนแท่งกลมเป็นรูปร่างต่าง ๆ จนพัฒนามาถึงขั้นหล่อขึ้นรูปเทียนเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามพิมพ์ที่ออกแบบไว้ เทียนนอกจากจะให้แสงสว่างแล้ว ถ้าเราเพิ่มกลิ่นหอมเข้าไปมันก็สามารถสร้างมูลค่าให้กับเทียนสามารถขายได้ราคาดี
เมื่อก่อนเทียนหอมมักจะรู้จักกันในรูปแบบเทียนหอมไล่ยุง หรือเทียนหอมไล่แมลงต่าง ๆ แต่เทียนหอมที่เรานำข้อมูลมาเสนอวันนี้คือ “เทียนหอมอโรม่า” ค่ะ เป็นเทียนหอมที่ผสมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นผ่อนคลาย มีกลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นส้ม กลิ่นมะลิ กลิ่นซิตรัส เป็นต้น เทียนหอมอโรม่านี้ สามารถขายได้ทั้งลูกค้าปลีกและส่งให้กับสถาบันความงามต่าง ๆ ซึ่งสถาบันเหล่านี้จะซื้อไปจุดสร้างบรรยากาศให้ลูกค้าที่มารับบริการนวดตัว นวดหน้า ขัดผิว สปาผิว เป็นต้น

อุปกรณ์สำหรับทำเทียนหอมอโรม่า

  1. หม้อสแตนเลสไว้ละลายเทียน
  2. แม่พิมพ์เทียน จะใช้แม่พิมพ์ขนมแบบสแตนเลส หรือแม่พิมพ์เทียนโดยเฉพาะก็ได้
  3. ทัพพีกลมสำหรับไว้ตักเทียนหยอดแม่พิมพ์และคนเทียนให้ละลาย
  4. กรรไกรสำหรับตัดแต่ง
  5. เหล็กแหลมสำหรับปักไส้เทียน

วัตถุดิบสำหรับทำเทียนหอมอโรม่า

  1. พาราฟินสำหรับทำเทียน มีลักษณะเป็นของแข็งใส 1 กิโลกรัม
  2. สเตียรีน 8 ช้อนโต๊ะ
  3. ไมโครแวกซ์ ทำให้เทียนขึ้นรูปง่าย มีความหนืด 300 กรัม
  4. ไส้เทียน 1 เมตร
  5. น้ำมันหอมระเหยกลิ่นอะไรก็ได้ 50 กรัม
  6. สีเทียนสำเร็จรูป

วิธีทำ

  1. ละลายพาราฟินในหม้อใช้ไฟอ่อน โดยปกติฟาราฟินจะหลอมละลายในอุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส
  2. เมื่อพาราฟินละลายแล้วใส่สีเทียนสำเร็จรูปลงไป คนให้สีละลายสม่ำเสมอ
  3. ใส่ใส้เทียนลงในพิมพ์ให้สูงกว่าพิมพ์ประมาณ 5 เซนติเมตร ตักน้ำเทียนเทลงใส่พิมพ์ในขณะทีกำลังร้อน
  4. รอให้เทียนแข็งตัวก็นำไปขายได้

กำไร

ต้นทุนการทำเทียนอโรม่าจะอยู่ที่ประมาณ 40% ของราคาขาย ส่วนกำไรนั้นค่อนข้างสูงทีเดียวคือ 60%

แหล่งซื้อวัตถุดิบทำเทียนและอุปกรณ์

แหล่งใหญ่ ๆ อยู่ที่พาหุรัตน์และจตุจักร

 

ทำแล้วเอาไปขายได้ที่ไหน

อย่างที่บอกถ้าเราไม่ขายปลีกก็นำไปส่งตามสถาบันความงาม แต่ถ้าจังหวัดที่ท่านอยู่หาที่ส่งยากก็ลองขายเองดูก็ได้ เทียนหอมอโรม่าขาย ไม่ยาก จะเปิดแผงขายที่ตลาดนัดก็เข้าที จัดร้านให้สวยงามจะได้ดึงดูดลูกค้า และอย่าลืมจุดเทียนหอมสัก 1 กลิ่นเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าไปในตัว หรือจะขายออนไลน์ก็ได้โดยการเปิดเว็บไซน์ขึ้นมาสักเว็บไซต์หนึ่ง ขายผ่านเว็บไซต์เดี๋ยวนี้ไม่ต้องลงทุนมาก เพราะมีหลายเว็บให้บริการเปิดร้านค้าฟรี กลุ่มลูกค้าจะกว้างขึ้น

เทียนหอมอโรม่าเพิ่มมูลค่ายังไง

เทียน หอมที่เราหลอมใส่พิมพ์แบบธรรมดา มีสีเดียวรูปร่างก็ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหรแน่นอนว่าราคาก็จะธรรมดาตามไปด้วย ลองทำเทียนหอมอโรม่าในรูปแบบอื่น ๆ เช่น รูปดอกไม้ รูปตุ๊กตา ซึ่งการทำเทียนหอมอโรม่าในรูปแบบนี้ต้องอาศัยฝีมืออยู่เหมือนกัน
การ ทำเทียนหอมอโรม่าไม่ได้มีแต่วิธีหลอมอย่างเดียว ถ้าสนใจทำเทียนในรูปลักษณ์แปลกตาท่านอาจจะซื้อพิมพ์เทียนแบบกดหรือไปเรียน วิธีปั้นขึ้นรูปเทียนในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม ยิ่งเทียนมีรูปลักษณ์ที่สวยแปลกตาขึ้นเท่าไหร่ ราคาขายจะสูงขึ้นเท่านั้น
ถ้า ไม่มีฝีมือประดิบประดอยเทียนจะลองจัดเทียนหอมใส่แพ็กเกจสวย ๆ ขายดูก็ได้ จะได้ดูน่าซื้อขึ้น ถ้ามีแพ็กเกจเราสามารถพิมพ์ข้อมูลของกลิ่นเทียนเพื่อจูงใจลูกค้าได้ อาทิเช่น เทียนหอมอโรม่ากลิ่นลาเวนเดอร์ เราอาจจะพิมพ์คำโฆษณาลงไปว่า “เทียนหอมกลิ่นลาเวนเดอร์ ผ่อนคลายความเมื่อยล้า ช่วยให้หลับสบาย” เป็นต้น
การ ขายเทียนหอมอโรม่าทีละมาก ๆ ในรูปแบบของของชำร่วยก็น่าสนใจอยู่เหมือนกัน และยิ่งมีการบริการออกแบบเทียนหอมตามใจลูกค้าด้วยยิ่งดีใหญ่ เช่น การเขียนข้อความลงบนเทียนหอม หรือการปั้นเทียนหอมเป็นตุ๊กตาเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นต้น
ตลาด ขายเทียนหอมยังเปิดกว้างอยู่ทั้งเทียนหอมไล่ยุงและเทียนหอมกลิ่นอโรม่า ถึงจะมีคู่แข่งเยอะ ถ้าตั้งใจทำจริง ๆ และหาจุดขายให้แปลกจากของคนอื่นแล้วล่ะก็ เทียนหอมอโรม่าของคุณก็จะสามารถครองตลาดได้เหมือนกัน

ที่มา: ohomakemoney.com

Tuesday, August 27, 2013

ไม่มีวันตาย! อาชีพทําดอกไม้จันทน์ขาย


หาก คุณต้องการประกอบอาชีพค้าขายอะไรก็ได้สักอย่างหนึ่ง แน่นอนว่าสิ่งแรกที่คุณนึกถึงก็คือ “มันจะขายได้หรือเปล่า” จะมีสินค้าอะไรที่สามารถขายได้เรื่อย ๆ ไม่ต้องห่วงช่วงเวลาและลมฟ้าอากาศ อาชีพดี ๆ คุณอาจจะสงสัยว่าอาชีพดี ๆ แบบนี้มีอยู่ในโลกด้วยหรือ? มีค่ะ เราเก็บข้อมูลอาชีพเด็ดอาชีพนี้มาตีแผ่แล้ว บอกก่อนว่าอาชีพนี้เป็นได้ทั้งอาชีพ หลักและอาชีพเสริม เป็นอาชีพที่ทำได้เรื่อย ๆ ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ทำไปเถอะไม่ต้องกลัวขายไม่ได้ ไม่ต้องกลัวว่าตลาดไม่มีรองรับ อาชีพนั้นก็คือ “ทำดอกไม้จันทน์ขาย

ความสำคัญของดอกไม้จันทน์

การ วางดอกไม้จันทน์เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือกันมานานตั้งแต่โบราณแล้ว สมัยก่อนดอกไม้จันทน์มีประโยชน์มากกว่าธรรมเนียมปฏิบัติ เพราะสมัยก่อนไม่มีการฉีดสารฟอมารีน ดอกไม้จันทน์ที่ทำจากไม้จันทน์ที่มีกลิ่นหอมจึงมีความสำคัญมากในพิธีศพ (ใช้ดับกลิ่น) แม้ปัจจุบันดอกไม้จันทน์จะถูกลดบทบาทลงไปแต่ก็ยังจำเป็นสำหรับพิธีศพอยู่ดี ปัจจุบันดอกไม้จันทน์ถูกพัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลายและสวยงามมากยิ่งขึ้น ยิ่งดูประณีตและใช้เวลาทำมากเท่าไหร่ยิ่งตั้งราคาขายได้สูงขึ้นเท่านั้น ดอกไม้จันทน์รูปแบบประณีตจัดช่อสวยงามมักนิยมใช้สำหรับงานพิธีศพชั้นสูง บ่งบอกถึงเกียรติยศและฐานะของผู้วายชนม์ ปัจจุบันทำดอกไม้จันทน์ใช้ ใบลาน เยื่อกระดาษ เป็นวัตถุดิบ เพราะมีราคาถูกลงและไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อดับกลิ่นเหม็นอีกต่อไป เป็นการลดต้นทุน และเพิ่มความคงทนให้ผลิตภัณฑ์

ทำแล้วขายได้จริงหรือ

ดอกไม้ จันทน์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาด จะเห็นได้จากทั้งภาครัฐและเอกชนสนับสนุนให้ประชาชนประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ขาย อาธิเช่น กลุ่มแม่บ้าน มูลนิธิ รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ กลุ่มฝึกอาชีพ เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานหรือบริษัทเหล่านี้จะป้อนงานให้ชาวบ้านถึงที่บ้านเลยทีเดียว ถ้าท่านสนใจอาชีพนี้ลองติดต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนอาชีพในจังหวัดท่าน อาทิ กลุ่มบทบาทสตรี กลุ่มแม่บ้านต่าง ๆ เป็นต้น

ต้นทุนทำดอกไม้จันทน์ขาย

ทำดอกไม้จันทน์ขาย ลงทุนไม่มาก ครั้งแรกลงทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ประมาณ 600 บาท ทำดอกไม้จันทน์ได้ 800 ดอก ในการทำดอกไม้จันทน์ในครั้งแรกนี้อาจจะเห็นกำไรไม่มาก เพราะทุนในส่วนนี้จะจมอยู่กับอุปกรณ์ ถ้าคุณทำไปเรื่อย ๆ กำไรก็จะเพิ่มขึ้นเอง ซึ่งในการทำครั้งต่อไปต้นทุนจะลดลง (เพราะไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มากนัก ซื้อแค่วัตถุดิบทำดอกไม้จันทน์เพิ่มเท่านั้น)

ข้อดีของการทำดอกไม้จันทน์ขาย

  1. ขายได้เรื่อย ๆ ไม่ต้องห่วงเรื่องช่วงเวลา
  2. วัตถุดิบและดอกไม้จันทน์ที่ประดิษฐ์เสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน สามารถเก็บไว้รอจำหน่ายได้เป็นปี ๆ
  3. มีคนมารับซื้อถึงที่ ถ้ามีการรวมกลุ่มในชุมชน รัฐก็ให้การสนับสนุน

วัสดุอุปกรณ์ทำดอกไม้จันทน์

  1. กลีบดอก , เกสร , หนวดดอกไม้จันทน์ (วัสดุเหล่านี้ทำจากเยื่อไม้หรือกระดาษ มีราคาถูก)
  2. ริบบิ้นสีดำ , กระดาษย่นสีดำ (ซื้อแบบแผ่นมาตัดเอาเองจะถูกกว่าซื้อเป็นม้วนมีกาวสำเร็จ)
  3. ธูปและเทียนขนาดจิ๋ว
  4. ช่อประธานพร้อมหนวด , ก้านไม้ติดช่อประธาน (อาจใช้ไม้ไผ่เหลาเองเพื่อประหยัดต้นทุน)
  5. ด้ายสีขาว (คุณภาพไม่ต้องดีมาก เป็นด้ายคอตตอลธรรมดา)
  6. ลวดเบอร์ 24 และ กาวลาเท็กซ์
  7. ถุง พลาสติกใส สำหรับไว้บรรจุดอกไม้จันทน์ที่ทำเสร็จแล้ว ขนาด 16×26 นิ้ว บรรจุดอกไม้จันทน์ดอกเดี่ยวได้ 100 ดอก , แบบช่อประธานหรือแบบมัดเป็นช่อได้ 10 ช่อ)

ขั้นตอนการทำดอกไม้จันทน์

1.แบบดอกเดี่ยว
  • นำกลีบดอกเกสรจับกลีบเข้ากับก้านดอกใช้ด้านสีขาวพันให้แน่นหนา
  • เข้ากลีบดอกอีก 4 กลีบ ทากาวที่โคนมัดด้วยด้ายให้แน่น
  • นำหนวดจันทน์ 1 คู่และธูปเทียนจิ๋วมัดติดกับดอกไม้จันทน์ที่ใส่กลีบดอกและเกษรแล้ว พันด้วยด้ายและกาว
  • นำ กระดาษย่นสีดำแตะกาวเล็กน้อยที่ปลายด้านใดด้านหนึ่งแล้วค่อย ๆ พันที่ก้านจนตลอด ซ่อนรอยด้ายและกาวให้เรียบร้อย เมื่อเสร็จแตะกาวอีกครั้งที่กระดาษย่นพันเก็บกระดาษย่นให้เรียบร้อย
  • การพันกระดาษย่นสีดำที่ก้านดอกต้องพันให้แน่น ให้มองไม่เห็นก้านดอกและด้ายที่พันไว้
2. แบบช่อประธาน
  • นำดอกไม้จันทน์ดอกเดี่ยวที่ทำสำเร็จแล้วจากข้อ 1 มาเข้าช่อประมาณ 9 ดอก
  • การเข้าช่อ เข้าให้ลดหลั่นกันเป็นทรงพิรามิดคว่ำ ตกแต่งด้วยหนวดจันทน์ให้สวยงามและ พันด้ายและกระดาษย่นให้เรียบร้อย

การเก็บรักษาดอกไม้จันทน์และวัตถุดิบ

ดอกไม้ จันทน์ทำจากเยื่อไม้และกระดาษสิ่งที่ต้องระวังคือแมลงจำพวกแมลงสาบ ปลวก ฯ ควรเก็บดอกไม้จันทน์ในถุงพลาสติกมิดชิด หรือถ้าต้องการเก็บไว้นานให้ใส่กล่องพลาสติกที่มีฝาปิด ถ้าเก็บใส่ถุงพลาสติกใสตอนเก็บให้ระวังอย่าให้หนวดจันทน์พับหรือเสียรูป หรือกลีบดอกบิดเบี้ยว ห้ามวางถุงทับกันเพราะจะทำให้แบน
ที่มา: ohomakemoney.com

Monday, August 19, 2013

ไผ่กิมซุง อาชีพเสริมถูกใจคืนทุนได้เร็วไว

ช่วงเศรษฐกิจแบบนี้คนไม่มีงานทำมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นะคะ หลายคนที่มีงานอาชีพก็ยังจะหางานเสริม อาชีพเสริมกันอยู่ก็มีมาก เพราะด้วยของใช้ราคาแพงขึ้น (แต่ค่าแรงยังคงต่ำเช่นเดิม) ก็คงไม่พิลึกอะไรที่คนมีอาชีพอยู่แล้วอย่างเราๆ จะหันมาหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ค่ะ


และวันนี้อาชีพหนึ่งที่น่าสนใจที่ทาง Sanook Women จะมีมาแนะนำนั่นก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือ "การปลูกไผ่กิมซุง" ค่ะ หลายคนอาจจะคิดว่าแค่ต้นไผ่จะสามารถสร้างรายได้ ได้อย่างไร ต้องขอตอบว่าได้ค่ะ เพราะ ต้นไผ่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น หน่อไม้ใช้ประโยชน์ต่อการบริโภคและขาย สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่นตะเกียบ เครื่องดนตรี ของเล่น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทำเยื่อกระดาษ นำไปเผาทำเป็นถ่าน ใช้ประโยชน์ด้านการดูดกลิ่น หรือนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลายชนิด ใช้ในอุตสาหกรรม จากที่เล่ามาก็จะเห็นได้ว่าไผ่หนึ่งกอเราสามารถใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วนเลย ละคะคุ้มค่าจริงๆเลย
เราได้เห็นประโยชน์ของต้นไผ่แล้วใช่ไหมค่ะ ทีนี่เรามาทำความรู้จักกับเจ้าต้นไผ่กิมซุงให้มากขึ้นดีกว่าค่ะ ตอนนี้หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่าทำไมจะต้องเป็นไผ่กิมซุง ไผ่กิมซุ่ง เป็นไผ่ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน เป็นไผ่ที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตเร็วมากอีกทั้งยังดูแลง่ายเมื่อเทียบกับ ไม้เศรษฐกิจชนิดอื่นอย่างยางพาราหรือยูคาลิปตัส เพราะใช้เวลาปลูกเพียงแค่ 6-8 เดือนก็สามารถเก็บหน่อมารับประทานหรือจำหน่ายได้


ไผ่กิมซุ่ง เป็นไผ่กลุ่มหน่อใหญ่ ลำต้นสูง 20 ถึง 25 เมตร ลำมีสีเขียว ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว และให้หน่อไม้เมื่อต้นมีอายุ 6-8 เดือน จุดเด่นของไผ่พันธุ์นี้ คือ หน่อไม้ไม่มีขน เปลือกบาง เนื้อหนา น้ำหนักดี รสหวานกรอบ  การไว้ลำไผ่ต่อกอจะไว้เพียง 4-5 ลำเท่านั้น ส่วนการเก็บผลผลิตให้ได้คุณภาพดี ควรเก็บหน่อที่มีความยาวไม่เกิน 40 เซนติเมตร ถ้าใหญ่กว่านี้ หน่อจะแก่เกินไป และมีเสี้ยน ขายไม่ได้ราคา ข้อสำคัญ ระหว่างเก็บผลผลิต ไม่ควรปล่อยให้หน่อเจริญเติบโตเป็นลำไผ่ เพราะอาหารจะไม่ไปเลี้ยงหน่อ ทำให้หน่อไม้ที่เกิดมาใหม่ฝ่อได้
โดยวิธีการปลูกนั้นไม่ยาก สามารถปลูกได้กับทุกสภาพอากาศ ทุกสภาพดิน เพียงแค่คุณลงทุนซื้อต้นไผ่ ซึ่งราคานั้นไม่แพงมากเฉลี่ยนต้นละ 50 ถ้าซื้อมากก็จะยิ่งถูกลง (ส่วนใหญ่ก็จะซื้อมาขยายพันธุ์กันทีละเป็นร้อยๆ ต้น) และเมื่อปลูกได้ตามระยะเวลาที่กำหนด บางเจ้าที่ขายพันธุ์ไผ่มาก็จะขอรับซื้อคืนเลยก็มี


ซึ่งสามารถขายได้ทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นหน่อขายเป็นหน่อไม้ ลำไผ่ กิ่งแขนงเอามาตอนเพื่อขายต่อหรือขยายพันธุ์ได้อีก ส่วนราคาที่รับซื้ออยู่ที่ประมาณ 20-30 บาท/ก.ก. เป็นราคาส่งที่ตลาดรับซื้อนะค่ะ ส่วนราคาปลีกแล้วแต่พื้นที่ค่ะ ถ้าตัดจากต้นอายุ8เดือน การให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย30-50ก.ก./ไร่/วัน และที่สำคัญสามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งหรือปักชำได้ อายุเพียง6-8เดือนท่านก็สามารถขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายได้ ถือเป็นเรื่องง่ายเลยที่มีตลาดมารองรับเสร็จ ไม่ต้องวิ่งหาตลาดระบายของ แถมได้เงินคืนในระยะเวลาอันสั้นไม่ถึงปี........เห็นอย่างนี้แล้วใครที่มอง หาอาชีพเสริม อยู่การปลูกไผ่กิมซุงก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการรายได้ เสริมนะคะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก rakbankerd.com ,pantown.com ,sewii.doae.go.th

อาชีพขายก๋วยเตี๋ยวลุยสวน สูตรสาหร่าย


 
 
ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน สูตรสาหร่ายจะพูดว่าก๋วยเตี๋ยวลุยสวนก็ไม่ค่อยได้เต็มปาก เนื่องจากว่าสูตรนี้ใช้สาหร่ายพันแทนเส้นก๋วยเตี๋ยวนั่นเอง สัมพันธ์กันสำหรับคนที่ไม่อยากรับประทานแป้งมากมากเกินไป

ส่วนประกอบสำหรับ 1 ที่
สาหร่ายแบบแผ่นใหญ่ ราวๆ 8 นิ้ว X 8 นิ้ว  2 แผ่น
ปูอัด หั่นเป็นแท่งยาว 2 แท่ง
ยี่หร่าเด็ดเป็นใบยาวๆ
สะระแหน่ 10 ใบ
ผัดกาดหอม 4 ใบ
แตงกวาหั่นเป็นท่อนยาวๆ 2 ท่อน
แครอท 4 แท่ง
เนื้อปลาทูน่าพอโดยประมาณ

วิธีทำก๋วยเตี๋ยวลุยสวน สูตรสาหร่าย
1.คลี่สาหร่ายแบบแผ่น แล้วสเปรย์น้ำเล็กน้อยเพื่อให้สาหร่ายนุ่มตัว เวลาพันจะได้ไม่หลุดออกจากกัน
2.วางส่วนผสมทั่วๆ  แล้วพันให้เป็นแท่งยาวๆ ทำ 2 แท่ง
3.หั่นให้ได้ประมาณ 6 ชิ้นต่อแท่ง กล่องหนึ่งจะมี 12 ชิ้นเล็กๆ

มูลค่าขายพร้อมน้ำยำกล่องละ 35 บาท
ซึ่งสูตรนี้อาจจะใช้แผ่นก๋วยเตี๋ยวแทนก็ได้เช่นกันค่ะ

น้ำยำสำหรับราด
1. มะม่วงเปรี้ยวสับ
2. พริกสดหั่นละเอียด
3. กระเทียมสับ
4. น้ำตาล
5. น้ำปลา
วิธีทำ
น้ำส่วนผสมทั้งหมดผสมเข้าด้วยกัน ชิมรสให้เปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน
======================================================

Thursday, June 17, 2010

โคระ : ภูมิปัญญาการทำมาหากิน

2008 11 11 1004 โคระ : ภูมิปัญญาการทำมาหากิน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง วิธีการจัดการ วิธีการชี้นำ และการริเริ่มเสริมต่อของนักปราชญ์
ในท้องถิ่นหรือในกลุ่ม ชน ภูมิปัญญาชาวบ้านล้วนสั่งสมงอกงามขึ้นจากความรอบรู้ ประสบการณ์
ผนวก ด้วยญาณทัศนะ(ความเฉียบคมในการหยั่งรู้ที่ลุ่มลึกกว่าวิสัยทัศน์) เป็นรากฐาน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ย่อมมีขึ้นเพื่อการปรับเปลี่ยนสภาพทรัพยากรและองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม
ให้ เพิ่มพูนคุณค่าขึ้นอย่างสอดประสาน และเหมาะสมกับบริบทต่างๆของสังคม หรือชุมชนของตน
ทั้งด้านระบบที่เผชิญอยู่ เช่น ภูมิปัญญาการปรับเปลี่ยนวิธียังชีพจากเพียงเพื่ออยู่ รอดไปสู่ภาวะมีกิน
มี อยู่มีใช้อย่างพอเพียง ภูมิปัญญาชาวบ้านย่อมให้ผลสัมฤทธิ์ที่เกื้อประโยชน์ต่อกลุ่มชนมากกว่าต่อ
ปัจเจก ชนสามารถขยายผลสืบส่งอย่างกว้างขวางและต่อ เนื่อง คนส่วนใหญ่ของกลุ่มสามารถรับเอาภูมิ
ปัญญานั้นๆ เข้าสู่วิถีชีวิตได้อย่างมีระบบและมีพลัง ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทรงคุณค่ายิ่ง และสืบ
ทอดต่อกันยาวนานจะค่อย ๆ ซึมซาบเข้าสู่นิสัยการคิดและการกระทำจนกลายเป็นสามัญลักษณะเป็น
ขนบนิยม หรือจริยวัตรปกติของคนรุ่นหลังๆ และหากถูกนำไปใช้ต่างยุคต่างสมัย หรือต่างสถานที่
หรือต่างกลุ่มชนที่ มีบริบทสอดแคล้วแตกต่างกัน


รากเหง้าของภูมิปัญญาชาวบ้านจึงมักเกี่ยวเนื่องกับการนำ “สภาวะ” ตามธรรมชาติที่อยู่ใน
วิสัยที่จะจัดได้หรือ “ภาวะ” ที่เกิดจาก การกระทำ การเสาะสร้างของคนรุ่นก่อนๆ มาปรับเปรอให้
เกื้อกูลแก่การดำรงชีพขั้น พื้นฐานหรือปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่อง นุ่งห่ม และยาบำบัด
โรคภัยไข้เจ็บ แล้วภูมิปัญญาเหล่านั้นค่อยๆ แตกหน่อต่อยอดเป็นภูมิปัญญาเพื่อจรรโลงจิตใจเป็น
เครื่องประเทืองอารมณ์ อันได้แก่ ภูมิปัญญาประเภทงานช่างฝีมือ และศิลปกรรมพื้นบ้าน ตลอดจน
ภูมิปัญญา อันเป็นปทัสถานที่ยึดถือว่าเป็นความดีความงามตาม คติชน หรือคติชาวบ้าน
ภูมิปัญญา ชาวบ้านประเภทเพื่อการยังชีพมีขึ้นเพื่อการมีชีวิตอยู่รอด อยู่อย่างมีความสุขสบาย
ตามอัตภาพ เป็นภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับ การเสาะหาปัจจัยพื้นฐานในการยังชีพของสังคมปฐมฐานยุคที่
มนุษย์เสาะหา ปัจจัยด้วยวิธีเก็บเกี่ยวและการใช้แรงงาน ได้แก่ วิธีทำมาหากิน วิธีเสาะหาและจัดการ
เกี่ยวกับปัจจัย 4 คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น ภูมิปัญญาเหล่านี้ค่อยๆ
เพิ่มพูนงอก งามขึ้น จนดูประหนึ่งเป็นสิ่งสามัญ

“โคระ” ถือเป็นภูมิปัญญาเพื่อการยังชีพ ที่เกี่ยวภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน ซึ่งเริ่ม
แต่ภูมิปัญญาการ เก็บเกี่ยว เช่น ภูมิปัญญาการหาของป่า ล่าสัตว์ ตีผึ้ง การทำและใช้เครื่องจับสัตว์
บก สัตว์น้ำ เช่น นก ปลา เสือ ช้าง ภูมิปัญญาเหล่านี้ค่อยพัฒนาขึ้นเป็นอาชีพ มีรูปแบบของ
เครื่องมือเครื่อง ใช้ เฉพาะตัว เฉพาะถิ่นขึ้น เช่น หน้าไม้ แร้ว ไซ เชงเลง หญุด ภูมิปัญญาในการ
เลือกพันธุ์ข้าวทำนา การไถ คราด หว่าน ดำ เป็นต้น

 โคระ :  ภูมิปัญญาการทำมาหากิน

โคระใช้สวมป้องกับแมลงในสวนจำปาดะ
ลักษณะและวิธีใช้โคระ
โคระ เป็นเครื่องสานที่ใช้ห่อหรือสวมผลไม้จำพวกขนุนและจำปาดะ เพื่อป้องกันตัวหนอน
ชอนไชทำความเสียหายให้กับผลไม้ โดยทั่วไปทำจากใบมะพร้าวสดหรือแห้งก็ได้ ถ้าเป็นใบแห้งต้อง
แช่น้ำก่อน 1 คืน เพื่อให้ใบคลี่สะดวกต่อการสาน การทำโคระ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำโคระ
1. ไม้เสียบทำจากก้านมะพร้าว
2. ทางมะพร้าว 2 ท่อน
3. มีด
4. เขียง

วิธีการทำโคระ
1. เริ่มด้วยเลือกทางมะพร้าวที่มีก้านใบสมบูรณ์ดีไม่มีรอยฉีกขาดหรือมีแต่น้อย
2. ตัดทางให้เป็นท่อนติดก้านใบข้างละ 3 ก้าน รวม 6 ก้าน นำท่อนทางที่ตัดแล้วจำนวน 2
ท่อนสานเข้าด้วยกัน
3. จับท่อนทางทั้งคู่หันหน้าเข้าหากัน สานขึ้นรูปทีละด้านด้วยลาขัด เมื่อขัดตอกได้ 4 ตาแล้ว
ใช้ก้านมะพร้าวทำเป็นหมุดกลัดตอกเส้นบนสุดของ ทั้งสองข้างไว้กันหลุด
4. พลิกไปสานด้านตรงข้ามต่อไป ขัดตอกตามวิธีเดิมจนได้ รูปคล้ายกรวย ปลายตอกทั้ง
สองของแต่ละท่อนทางจะ ไปรวมอยู่ด้านเดียวกัน
5. ขัดตอกตามวิธีเดิมจนใกล้สุดปลายตอกใบ รวบปลายใบขัดเป็นปม 2 ปม คล้ายผมเปีย ได้

รูปโคระที่เสร็จ สมบูรณ์
6. ถ้าต้องการทำโคระที่โตกว่า เพื่อใช้ห่อผลไม้ขนาดใหญ่ ทำได้โดยการตัดทางมะพร้าวให้
มีตอกใบข้างละ 5-7 ก้าน 2 ท่อน ได้ก้านใบ 20-28 ก้าน สานขึ้นรูปโดยวิธีเดียวกัน
ผู้ เฒ่ากับการสานโคระ
เกือบจะเป็นโคระ
โคระที่เสร็จแล้วพร้อมใช้งาน

ระยะ เวลาในการใช้โคระ
ชาวสวนใช้โคระสวมขนุนหรือจำปาดะตั้งแต่ยัง เป็นผลอ่อน อายุประมาณ 1 เดือน โดยสวม
ทางปากหรือก้นโคระก็ได้ แล้วปล่อยทิ้งไว้จนผลไม้เจริญเต็มที่ โคระก็จะขยายตัวยืดออกตามขนาด
ของ ผลไม้นั้น ๆ โคระแต่ละใบใช้ได้เพียงครั้งเดียว
โคระที่สวนจำปาดะบ้านตา ข้ำ
โคระ ภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้ที่มีประโยชน์ต่อการทำมาหากินและวิถีดำเนินชีวิต อย่าง
เหมาะสม และ มีพลังมาช้านาน เป็น “ศาสตร์ชาวบ้าน” ที่มีข้อจำกัดเฉพาะถิ่นเฉพาะช่วงเวลา
และส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการสืบต่อของ ภูมิปัญญา การจะดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาต่าง ๆ จำเป็นจะต้อง
เล็งเห็นความ สำคัญของภูมิปัญญานั้น ๆ แล้วสืบสานต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานเพื่อดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญา
อัน ชาญฉลาดของบรรพบุรุษ
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นายข้ำ เครืออักษร อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 4
ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ที่มา : แก้จน.com

Wednesday, June 16, 2010

'บานาน่าปรุงรส' ของกล้วย ๆ รวยได้!

“กล้วย” ผลไม้ไทย ๆ ที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กไปจนถึงผู้ใหญ่ สามารถแปรรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ ได้มากมาย อาทิ กล้วยปิ้ง กล้วยทอด กล้วยฉาบ ฯลฯ แต่วันนี้ทางทีมงาน “ช่องทางทำกิน” จะแนะนำให้รู้จักกับอีกผลิตภัณฑ์จากกล้วย ซึ่งสร้างงานสร้างรายได้ภายใต้แบรนด์ “บานาน่า” หรือกล้วยน้ำว้าปรุงรส

คุณจินตนา สะสำอางค์ วัย 42 ปี ผู้นำกลุ่มแม่บ้านสตรีพัฒนากล้วยน้ำว้าไทย ซึ่งทำ 'กล้วยปรุงรส' จำหน่าย เล่าว่า ได้แนวคิดมาจากช่วงที่กล้วยน้ำว้าล้นตลาด ในช่วงปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่เธอเองก็รู้สึกอิ่มตัวกับงานบริษัทที่ทำอยู่ เบื่อความซ้ำซากจำเจในเมือง ประกอบกับสภาพวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกช่วงปี 2540 ทำให้ตัดสินใจหันหลังให้กับอาชีพลูกจ้างที่คุ้นเคยมากว่า 10 ปี

'จุด เริ่มต้นประกายความคิดคือช่วงนั้นมันฝรั่งยี่ห้อหนึ่งกำลังได้รับความนิยม มาก ทำให้นึกถึงกล้วยน้ำว้า ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว ยังมีรสชาติที่หวานต่างจากกล้วยชนิดอื่น ประกอบกับเป็นช่วงที่ผลผลิตกล้วยน้ำว้าล้นตลาด ราคาตก เลยพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยนำกล้วยน้ำว้าไปทดลองปรุงรสต่าง ๆ ตามกระแส แล้วลองเอาไปให้เด็ก ๆ ชิมดู ก็เป็นที่ถูกอกถูกใจ จากนั้นก็ได้พัฒนาคิดสูตรรสชาติใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ'

และจุด เปลี่ยนสำคัญของธุรกิจเกิดขึ้นเมื่อห้างเทสโก้โลตัสจัดพื้นที่พิเศษเพื่อ จำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอทอป ทำให้สินค้าบานาน่าได้มีโอกาสไปวางจำหน่าย ซึ่งช่วยเปิดช่องทางให้กับสินค้าท้องถิ่น จนวันนี้สมาชิกกลุ่มสตรีพัฒนาฯมีรายได้คนละ 10,000 -20,000 บาท/เดือน

ปัจจุบันสินค้าของ กลุ่มมี 10 รสคือ รสสาหร่าย รสบาร์บิคิว รสลาบ รสไก่ รสพิซซ่า รสช็อกโกแลต รสกุ้ง รสปาปริก้า รสมะเขือเทศ และรสชาเขียว ซึ่งทุกรสผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับมาตรฐานสินค้าโอทอป 5 ดาวและสถาบันรับรองอาหารฮาลาล

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำ กล้วยปรุงรส ก็มี...กล้วยน้ำว้าดิบแก่จัด, น้ำตาลไอซิ่ง (มีส่วนผสมของแป้งสาลี 3% ช่วยลดความชื้น), พริกไทยป่น, เกลือ และน้ำมันสำหรับทอด

ส่วนวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำ ก็เป็นพวก... กระทะ, เตาแก๊ส, ไม้พาย, กระด้ง, เครื่องฝานกล้วย, ตะแกรง, ทัพพี, เครื่องบดไฟฟ้า, กระดาษซับน้ำมัน, กะละมัง, มีด, เขียง ฯลฯ

ขั้น ตอนและวิธีการทำ ก็ไม่ยาก เครื่องปรุงก็ไม่ซับซ้อน ส่วนผสมหลัก ๆ ก็มีเครื่องเทศสมุนไพร เกลือ พริกไทยป่น น้ำตาลไอซิ่ง ถ้าต้องการรสชาติแบบไหนก็เพิ่มส่วนผสมนั้น ๆ ลงไป

ยกตัวอย่างวิธีการทำ 'กล้วยปรุงรส-รสสาหร่าย' เริ่มจากนำกล้วยที่เตรียมไว้ 6 หวีใหญ่ (เมื่อทอดออกมาแล้วจะได้น้ำหนักประมาณ 3 กก.) มาปอกเปลือก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด วางไว้ให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นก็นำมาฝานเป็นชิ้น ๆ กะขนาดให้เท่า ๆ กัน นำลงทอดในน้ำมันที่อุณหภูมิ 100 องศา ใช้เวลาประมาณ 15 นาที สังเกตดูสีกล้วยให้เป็นสีเหลืองทอง ตักขึ้นทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน ตั้งพักไว้สักครู่

นำสาหร่ายอบแห้งที่เตรียมไว้ 150 กรัม มาฉีกเป็นชิ้น ๆ ขนาดพอประมาณ แล้วบดให้ละเอียด จากนั้นก็นำมาคลุกเคล้ากับกล้วยที่ทอดเสร็จแล้ว ตามด้วยเครื่องปรุงรสคือ พริกไทยป่น เกลือป่น น้ำตาลไอซิ่ง ปริมาณตามต้องการ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับกล้วยทอด เพียงเท่านี้ก็จะได้กล้วยปรุงรสสาหร่ายที่อร่อยแล้ว

หรือถ้าปรุงเป็น 'กล้วยปรุงรส-รสลาบ' ก็ต้องเพิ่มข้าวคั่วบด พริกป่น มะนาวผง ผักชีลาวอบแห้งป่น ลงไป ขณะที่ 'กล้วยปรุงรส-รสบาร์บิคิว' ก็เพิ่มกระเทียมอบแห้ง หรือ 'กล้วยปรุงรส-รสปาปริก้า' ก็เพิ่มผงรสปาปริก้า 'กล้วยปรุงรส-รสพิซซ่า' เพิ่มผงรสพิซซ่า หรือ 'กล้วยปรุงรส-รสช็อกโกแลต' ใส่ผงช็อกโกแลต เป็นต้น

ความพิเศษของสินค้าคือ 'ส่วนผสมทุกอย่างต้องอบแห้งและบดให้ละเอียด ให้มีความชื้นน้อยที่สุด' เพื่อที่เวลาผสมกับกล้วยแล้วจะไม่เป็นก้อน !

สำหรับ ราคาขาย ขึ้นอยู่กับขนาดบรรจุ ถ้าขนาดบรรจุ 25 กรัม ราคา 3 บาท, บรรจุ 40 กรัม ราคา 5 บาท และบรรจุ 120 กรัม ราคา 20 บาท

'การทำต้องเลือก กล้วยที่แก่จัด จะมีความหวานกลมกล่อมเป็นธรรมชาติ ขนาดชิ้นก็สำคัญ จะต้องไม่บางมาก หรือหนาเกินไปจนทำให้กล้วยแข็งกระด้าง อมน้ำมัน และหัวใจสำคัญอีกอย่างก็คือ น้ำมันที่ใช้ทอดต้องใช้น้ำมันปาล์ม จะไม่หืน เพราะถ้ามีกลิ่นหืนก็จะทำให้เสียรส' คุณจินตนาเผยเคล็ดลับ

ใครสนใจ อยากลองชิมกล้วยปรุงรส 'บานาน่า' ก็ลองไปหาซื้อกันดู หรืออยากศึกษาดูงานทางคุณจินตนาก็บอกว่ายินดีต้อนรับ โดยติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มสตรีพัฒนากล้วยน้ำว้าไทย เลขที่ 22 หมู่ 3 ต.ทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โทร. 0-3465-9078, 08-1941-5469, 08-1408-7889

อาจจะแค่ 'กล้วย' แต่บวกไอเดียดี ๆ ก็รวยได้!

คู่มือลงทุน..กล้วย น้ำว้าปรุงรส
ทุนอุปกรณ์ ประมาณ 40,000 บาท
ทุน วัตถุดิบ ไม่เกิน 60% ของราคาขาย
รายได้ 120 กรัม ราคา 20 บาท
แรงงาน 1-2 คนขึ้นไป
ตลาด ร้านค้าทั่วไป, ส่งเข้าห้าง
จุดน่าสนใจ คนไทยให้ความนิยมทาน

เชาวลี ชุมขำ - ธีพร บรรจงเปลี่ยน : รายงาน
จเร รัตนราตรี : ภาพ
ที่มา : http://women.sanook.com/work/108jobs/108jobs_39645.php